ดื่มสุราเป็นประจำมักนำไปสู่โรคตับแข็งในระยะยาว แต่หลายคนอาจแปลกใจ บางคนดื่มจัดตลอดชีวิตแต่ไม่เคยเป็นตับแข็ง (https://www.rophekathailand.com/post/l/hepheka/cirrhosis)? เรื่องนี้สามารถอธิบายได้จากหลายปัจจัย
(http://www.rophekathailand.com/wp-content/uploads/2025/04/%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B2.png)
1. ยีนของแต่ละคนส่งผลโดยตรง
- บางคนมีเอนไซม์ที่ย่อยแอลกอฮอล์ได้ดี
- คนที่มีการทำงานของเอนไซม์ในตับดี อาจไม่สะสมพิษไวในระยะสั้น
2. ความสามารถในการซ่อมแซมเซลล์ตับไม่เท่ากัน
- กลไกการฟื้นตัวของเซลล์ตับอาจทำงานได้ดี
- แม้จะมีการทำลายจากแอลกอฮอล์ แต่ร่างกายก็เยียวยาได้ทัน ทำให้อาการไม่รุนแรงหรือยังไม่แสดงออกชัดเจน
3. โภชนาการส่งผลต่อสุขภาพตับ
- บางคนที่แม้ดื่มหนัก แต่ยังเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ เช่น วิตามินบี คาร์โบไฮเดรตดี ไขมันดี อาจช่วยชะลอการเสื่อมของตับ
4. ดูเหมือนดื่มเยอะ แต่จริง ๆ อาจไม่มาก
- แม้ว่าจะดูเหมือนดื่มทุกวัน แต่บางคนอาจไม่ได้ได้รับแอลกอฮอล์ในระดับอันตรายจริง ๆ
- หรือเพิ่งดื่มหนักมาไม่นาน ยังไม่ถึงเวลาที่ตับจะเสียหายจนแสดงอาการออกมา
5. ตับแข็งมักเงียบในระยะเริ่มต้น
- ตับเป็นอวัยวะที่ "อดทน" มาก
- อาจเสียหายไปกว่า 70% แล้วแต่ยังไม่มีอาการเด่นชัด คนที่ดูเหมือนไม่มีปัญหา อาจจริง ๆ แล้วมีค่าตับผิดปกติแต่ไม่เคยตรวจ
แม้บางคนดูเหมือนไม่ได้รับผลกระทบจากแอลกอฮอล์ แต่ไม่ได้แปลว่าปลอดภัย การบริโภคสุราเป็นประจำ ยังคงทำลายเซลล์ตับทีละน้อย ทั้งมะเร็งตับในระยะยาว ทางที่ดีที่สุดคือดูแลตัวเองตั้งแต่วันนี้ เพราะเมื่อโรคแสดงอาการแล้ว การรักษาจะยากกว่าการป้องกันมากนัก