• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

JSP ลุยธุรกิจ Healthcare ควักเงินรอปีละ 200 ลบ.เดินหน้า M&A หวังสร้าง S-Cuvre

Started by deam205, July 26, 2023, 05:15:32 PM

Previous topic - Next topic

deam205

นายสิทธิชัย แดงประเสริฐ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.โรงงานเภสัชอุตสาหกรรม เจเอสพี (ประเทศไทย) (JSP) เปิดเผยว่า บริษัทได้วางเป้าหมายในการก้าวขึ้นสู่ผู้นำตลาดสุขภาพแบบครบวงจรภายใน 3-5 ปี ซึ่งปัจจุบัน JSP ไม่ได้เป็นเพียงผู้ให้บริการด้านผลิตและจำหน่าย ยาแผนปัจจุบัน ยาแผนโบราณ ผลิตภัณฑ์สมุนไพรและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารแบบครบวงจร แต่ยังได้ขยายธุรกิจและบริการที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพผ่านบริษัทย่อย 3 บริษัท ประกอบด้วย
  • บริษัท เกรซ วอเทอร์ เมด จำกัด (GWM) ถือหุ้นโดย JSP 52.8% ดำเนินธุรกิจธุรกิจโรงงานผลิตน้ำยาล้างไต(A-B Solution) ดำเนินธุรกิจผู้ผลิตและจัดจำหน่ายน้ำยาสำหรับผู้ป่วยฟอกไต รวมถึงนำเข้า-ส่งออกเครื่องมือแพทย์และเวชภัณฑ์ ได้แก่ เครื่องฟอกไตเทียม เข็มต่อสายฟอกเลือด และอุปกรณ์การแพทย์อื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการฟอกเลือด อีกทั้งยังมีบริษัทวารี เมดิคอล จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทลูกภายใต้ GWM ที่ให้บริการด้านการติดตั้งระบบน้ำประปา และจำหน่ายอุปกรณ์เครื่องกรองน้ำและติดตั้งระบบน้ำบริสุทธิ์ให้กับศูนย์ฟอกไตของ GWM และลูกค้ารายอื่นๆ การดำเนินธุรกิจของ 2 บริษัทนี้จะส่งผลให้ JSP มีธุรกิจที่เกี่ยวกับ การบำบัดรักษาไตอย่างครบวงจร เช่น การเปิดศูนย์ฟอกไต การจัดจำหน่ายอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ตอกย้ำเป้าหมายก้าวสู่ผู้นำด้านด้านยาและสุขภาพครบวงจร
  • บมจ.ซีดีไอพี (ประเทศไทย) (CDIP) ถือหุ้นโดย JSP 65% ประกอบธุรกิจด้านการรับจ้างวิจัยเชิงวิชาการในห้องปฏิบัติการ รับจ้าง ทดสอบและวิเคราะห์ผลทางวิทยาศาสตร์ รวมถึงจัดงานฝึกอบรมและสัมมนา และส่วนงานให้คำปรึกษาการยื่นขอทุนวิจัยด้านการวิจัยและพัฒนา โดยธุรกิจของ CDIP ถือเป็นธุรกิจต้นน้ำสำหรับการนำไปต่อยอดด้านการผลิตยา อาหารเสริม รวมถึงเครื่องสำอาง สำหรับคนและสัตว์ ซึ่งมีจุดเด่นคือ ธุรกิจนี้ยังมีผู้เล่นน้อยรายในประเทศไทย จึงถือเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในอนาคตของ JSP
  • บริษัท แคร์ซูติก จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทลูกที่ถือหุ้นโดย JSP 100% บริษัทที่ให้บริการด้านอินโนเวชั่น เซ็นเตอร์ ที่มีทั้งศูนย์วิจัยและพัฒนา รวมถึงรับจ้างผลิต (OEM) ผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องสำอาง รวมถึงผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสำหรับคน และสำหรับสัตว์ ที่ครอบคลุมทั้งสัตว์เลี้ยงภายในบ้าน เช่น สุนัข และแมว และสัตว์ในการเลี้ยงสำหรับการทำปศุสัตว์ เช่น หมู ไก่ เป็นต้น เพื่อรองรับความต้องการของผู้ประกอบการกลุ่มขนาดกลางขนาดย่อมและรายย่อย (MSMEs ) แม่ค้าออนไลน์ เน็ตไอดอล รวมถึงบุคคลทั่วไปที่มีความสนใจและต้องการเป็นเจ้าของแบรนด์ด้วยตัวเอง ด้วยเงินลงทุนที่เข้าถึงได้ง่ายขึ้น โดยเริ่มต้นเพียง 100,000 บาท ซึ่งกลุ่มลูกค้าของแคร์ซูติกจะแตกต่างจากลูกค้าของ JSP คือเป็นกลุ่มรายย่อย ที่มีเงินทุนจำกัด
โดยการผนึกกำลังของทั้ง 3 บริษัท จะช่วยเข้ามาต่อยอดและขยายธุรกิจของ JSP ที่เกี่ยวเนื่องกับ Healthcare ได้อย่างยั่งยืน ขยายฐานลูกค้าที่หลากหลายมากขึ้น และเสริมศักยภาพให้กับบริษัท แต่อย่างไรก็ตามบริษัทยังคงเดินหน้าสร้างการเติบโตใหม่ๆอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการเข้าซื้อและควบรวมกิจการ (M&A) ในทุกๆปีในธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง โดยวางงบลงทุนสำหรับการทำดีล M&A ในธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องเฉลี่ย 200 ล้านบาท/ปี ที่เข้ามารองรับโอกาสการขยายธุรกิจอย่างน้อย 2 ดีล/ปี ซึ่งปัจจุบันมีทั้งผู้ที่มาสนใจที่ทำธุรกิจเกี่ยวเนื่องมาเสนอให้บริษัทเข้ามามีส่วนร่วมในการช่วยผลักดันธุรกิจ ซึ่งยอมรับว่าปัจจุบันธุรกิจและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผลิตยายังเป็นธุรกิจขนาดเล็กในระดับเอสเอ็มอี และเป็นธุรกิจครอบครัวเป็นส่วนใหญ่ และหลังจาก JSP สามารถเข้าตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) ได้ ทำให้ธุรกิจในอุตสาหกรรมเดียวกันมองเห็นถึงศักยภาพของJSP และเข้ามาร่วมมองหาโอกาสในการผลักดันธุรกิจ และสามารถจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯเพื่อต่อยอดกับธุรกิจได้
Quote"การเข้าลงทุนในธุรกิจที่เรามีความสนใจนั้น จะต้องเป็นธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง ซึ่งสามารถต่อยอดให้กับ JSP ได้ และเราสามารถเสริมและช่วยผลักดันให้กับธุรกิจนั้นๆด้วยเช่นกัน รวมถึงการพาเข้าตลาดฯ แต่เราจะต้องเข้าไปถือสัดส่วน 51% ขึ้นไป เพื่อที่สามารถมีส่วนร่วมในการบริหารงานได้ เพราะการลงทุนของเรามองว่า 1+1 = 3,4,5" นายสิทธิชัย กล่าว
ขณะที่แผนการนำบริษัทที่บริษัทเข้าซื้อมาแล้วเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯนั้น ในส่วนของบริษัท เกรซ วอเทอร์ เมด จำกัด (GWM) ซึ่งเป็นธุรกิจที่มีการจัดทำบัญชีที่เป็นมาตรฐานตามเกณฑ์ที่ตลาดหลักทรัพย์ฯกำหนด แต่ยังคงต้องรอในเรื่องการสร้างการเติบโตของกำไรที่สูงขึ้น ทำให้คาดว่าจะสามารถผลักดันเข้าตลาดได้ภายใน 3 ปีและบมจ.ซีดีไอพี (ประเทศไทย) (CDIP) ถือว่าเป็นอีกหนึ่งบริษัทที่มีศักยภาพและมีความพร้อมในการนำเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งปัจจุบันได้มีการแต่งตั้งที่ปรึกษาทางการเงินแล้ว และมีการจ้างออดิท ในการจัดทำงบการเงินที่เป็นไปตามมาตรฐาน แต่ยังรอจังหวะเวลาที่เหมาะสมในการนำเข้าตลาดเพื่อต่อยอดธุรกิจ โดยที่บมจ.ซีดีไอพี (ประเทศไทย) (CDIP) ถือว่าเป็นส่วนสำคัญในการนำลูกค้ามาให้กับ JSP จากการที่มีลูกค้ามาอบรมและวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่างๆ โดยมีฐานลูกค้ากว่า 30,000 ราย ซึ่งสามารถส่งต่อมาให้กับ JSP เพื่อนำมาผลิตสินค้าได้นายพิษณุ แดงประเสริฐ ประธานเจ้าหน้าที่สายงานการขายและการตลาด กล่าวว่า การขยายธุรกิจผ่านการควบรวมกิจการหรือการตั้งบริษัทย่อยของ JSP เพื่อก้าวเป็นผู้ให้บริการด้านสุขภาพอย่างครบวงจร ช่วยให้งานด้านการตลาดและการขายของบริษัทประสบความสำเร็จมากขึ้น โดยเฉพาะในไตรมาส 1/66 ยอดขายของ JSP ไม่รวมบริษัทย่อ สัดส่วนรายได้ที่มาจาก OEM 60% และรายได้ที่มาจาก OWN Brand 40% ซึ่งในส่วนของ OWN Brand ถือว่ามีความแข็งแกร่งและได้รับความนิยมมากขึ้นทั้งแบรนด์ สุภาพโอสถ และ COX ทำให้สัดส่วนรายได้ของ OWN Brand ปรับขึ้นมาที่45% จากการที่มีสินค้าหลากหลาย และผู้บริโภคได้รับรู้กันอย่างกว้างขวาง ประกอบกับการทำการตลาดผ่านโฮมชอปปิ้ง ช่องทางออนไลน์ และออฟไลน์ควบคู่กันไปขณะเดียวกันสินค้าในกลุ่ม OWN Brand ถือว่ามีอัตรากำไรขั้นต้นที่สูงราว 50% สูงกว่า OEM ที่มีอัตรากำไรขั้นต้น 40% ทำให้ช่วยผลักดันอัตรากำไรขั้นต้นของบริษัทให้สูงขึ้น โดยที่บริษัทตั้งเป้าหมายภายใน 3-5 ปี สิจะมีสัดส่วนสินค้า OWN Brand เป็น 50:50 เมื่อเทียบกับสินค้า OEM และในส่วนของการขยายสินค้า OEM จะผลักดันการเพิ่มไลน์สินค้าที่เป็นผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับอาหารเสริมสัตว์ และเครื่องสำอางสัตว์มากขึ้น ผ่านบริษัท แคร์ซูติก จำกัด ซึ่งมีผู้สนใจเข้ามาปรึกษาในการจ้างผลิตผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับสัตว์เลี้ยงเป็นจำนวนมาก และบริษัทถือเป็นหนึ่งในผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับอาหารเสริมสัตว์และเครื่องสำอางค์สัตว์เพียงไม่กี่รายในประเทศไทยสำหรับรายได้ของบริษัทในปี 66 คาดว่าจะอยู่ที่ 500 ล้านบาท ไม่รวมรายได้ที่มาจากบริษัท เกรซ วอเทอร์ เมด จำกัด (GWM) และบมจ.ซีดีไอพี (ประเทศไทย) (CDIP) ซึ่งจะยังไม่เข้ามาในปี 66 แต่จะเข้ามาในปี 67 เป็นต้นไป โดยที่ในปีนี้บริษัทยอมรับว่าแม้ภาวะของเศรษฐกิจไทยจะฟื้นขึ้น แต่กำลังซื้อค่อนข้างชะลอ ทำให้ยอดขายสินค้าอาจจะชะลอไปบ้างในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ขายได้ในปริมาณที่ลดลง อีกทั้งในส่วนของลูกค้ากลุ่ม OEM อาจจะมีการชะลอการสั่งผลิตออกไปบ้าง เพราะรอความชัดเจนของนโยบายของรัฐบาลชุดใหม่ที่เข้ามากระตุ้นเศรษฐกิจและกำลังซื้อ รวมถึงกลุ่มกำลังซื้อจากนักท่องเที่ยวจีนที่ยังไม่กลับมาเท่าที่คาดไว้ ทำให้ยอดขายยังค่อนข้างทรงตัวโดยบริษัทยังคาดหวังการกลับมาฟื้นตัวดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลังนี้ แต่ในปี 67 รายได้ที่เข้ามาจากบริษัท เกรซ วอเทอร์ เมด จำกัด (GWM) และบมจ.ซีดีไอพี (ประเทศไทย) (CDIP) จะเข้ามาเสริมอีกราว 200 ล้านบาท รวมกับเป้าหมายรายได้ของบริษัทในปี 67 ที่ 500-600 ล้านบาททำให้จะเห็นการเติบโตที่สูงขึ้นในปี 67 อย่างมีนัยสำคัญ และหากกำลังซื้อกลับมาดีก็จะเป็นปัจจัยหนุนต่อธุรกิจของบริษัทด้วยเช่นกัน